การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
แพทย์สามารถเห็นภายในลำไส้ใหญ่ได้โดยตรง สามารถเห็นได้ทั้งติ่งเนื้อขนาดเล็ก ติ่งเนื้อขนาดใหญ่ หรือ มะเร็งลำไส้ และถ้าตรวจพบติ่งเนื้อแล้วก็สามารถตัดติ่งเนื้อออกไปได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการตรวจลำไส้ใหญ่ที่มีความแม่นยำมากที่สุด
ในกรณีที่เลือกการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีอื่น เช่น การทำเอกซเรย์พิเศษ การตรวจอุจจาระ แล้วพบว่าผลผิดปกติ ก็ต้องทำการส่องกล้อง เพื่อหาสาเหตุ หรือเพื่อตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ แต่ถ้าเลือกการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้แล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองด้วยวิธีอื่น
ใครควรจะได้รับการส่องกล้องมะเร็งลำไส้ใหญ่
- คนที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป ไม่ว่าจะมีอาการขับถ่ายผิดปกติหรือไม่ก็ตาม
- คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปีเป็นต้นไป
การเตรียมตัวก่อนตรวจการตรวจ ( Colonoscopy )
- 3 วันก่อนตรวจ ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- งดรับประทานผัก ผลไม้และอาหารที่มีเส้นใย
- รับประทานยาระบายให้ตรงตามจำนวน และเวลา ตามที่แพทย์สั่ง
- ควรดื่มน้ำ 1 แก้วทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ
- คืนวันก่อนตรวจ งดอาหารและน้ำดื่ม จนกว่าจะทำการตรวจ
อาการผิดปกติที่ควรส่องกล้อง
- มีอาการปวดท้อง ร่วมกับ
– เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
– รับประทานยาลดกรดต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ อาการยังไม่หายสนิท
– ท้องอืด แน่นท้อง ท้องโต หรือคลำก้อนได้ในท้อง - มีปัญหาด้านการกลืน เช่น กลืนลำบาก กลืนแล้วเจ็บ
- อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดสีแดงหรือดำ
- คลื่นไส้อาเจียนเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ท้องเสียเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ
- อาการกรดไหลย้อน ที่รับประทานยารักษาต่อเนื่อง แต่อาการไม่หายสนิท
“ มะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกมักไม่มีอาการ การตรวจคัดกรองจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากตรวจพบระยะแรกจะมีโอกาสรักษาหายได้ หรือมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปี ถึง 95% แต่หากเป็นระยะที่ลุกลามไปแล้ว แทบจะไม่มีโอกาสรักษาให้หายได้เลย ดังนั้น การสังเกตตนเอง การพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อตรวจดูความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ”
ติดต่อสอบถาม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุรีเวช
โทร . 043-518019-26 ต่อ 8608