มะเร็งเต้านม : Breast Cancer
มะเร็งร้ายหมายเลขหนึ่งของหญิงไทย
อัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด
ปัจจัยเสี่ยง
- มีประวัติญาติสายตรง เป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- ใช้ฮอร์โมนเพศ หรือยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
- ภาวะอ้วน
- ดื่มแอลกอฮอล์
- มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี และหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
- ไม่มีลูก หรือคลอดลูกคนแรกหลังอายุ 30 ปี
อาการ
- ปวดหรืออึดอัดบริเวณเต้านม หรือรักแร้
- คลำได้ก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้
- มีน้ำผิดปกติไหลออกจากหัวนม
- รูปร่างขนาดเต้านมเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน
- หัวนมผิดตำแหน่ง หัวนมบอด
- แผลเรื้อรัง รอยบุ๋ม รอยย่น ผื่นคัน บริเวณหัวนมหรือลานหัวนม
ระยะของโรคมะเร็งเต้านม
- ระยะที่ 1: ก้อนมะเร็งเต้านมขนาดไม่เกิน 2 cm และยังไม่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
- ระยะที่ 2: ก้อนมะเร็งเต้านม 2-5 cm หรือมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
- ระยะที่ 3: ก้อนมะเร็งที่ลุกลามมาถึงผนังหน้าอก หรือมีการแตกเป็นแผล หรือมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ขนาดใหญ่
- ระยะที่ 4: มีการกระจายของมะเร็งออกไปนอกเต้านมและต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงแล้ว ได้แก่ การกระจายไป ปอด ตับ สมอง กระดูก
วิธีการตรวจมะเร็งเต้านม การตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะต้นสามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาหายขาดได้ หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม
- การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง : ควรคลำเต้านมทุกเดือนตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ หลังหมดประจำเดือน 2-3 วัน เนื่องจากจะคัดเต้านมน้อย
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์ : แนะนำให้ตรวจปีละ 1 ครั้งในผู้ป่วยที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
- ทำแมมโมแกรม (Mammography) : เป็นการตรวจที่มีความไวมากกว่าการคลำ สามารถตรวจพบก้อนมะเร็งขนาดเล็กๆได้ อาจทำร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวด์ (ultrasonography) แนะนำให้เริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปี โดยตรวจต่อเนื่องทุก 1-2 ปี หรือถี่กว่านั้นหากตรวจพบความผิดปกติ
การรักษา แพทย์อาจใช้การรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้การรักษาหลายๆอย่างร่วมกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค อายุและความแข็งแรงของผู้ป่วย แนะนำพบแพทย์เพื่อประเมิน
- การผ่าตัด
- การฉายรังสี
- การให้ยา
- ยาเคมีบำบัด
- ยาต้านฮอร์โมน
- ยาพุ่งเป้าจำเพาะ
ติดต่อสอบถาม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุรีเวช
โทร . 043-518019-26 ต่อ 8608