การรักษามะเร็งตับ ด้วยวิธีรักษาเฉพาะจุดที่ตับ โดยวิธีรังสีร่วมรักษา
(Interventional Radiology) ที่โรงพยาบาลจุรีเวช “ สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องรอคิวนาน ” โดย แพทย์รังสีร่วมรักษา จะมีการใช้เครื่องมือขนาดเล็ก ร่วมกับการใช้ภาพการตรวจทางรังสีวิทยาเป็นเครื่องนำทาง เพื่อให้การตรวจรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเห็นรอยโรคที่ต้องการตรวจรักษาได้อย่างชัดเจน ทำให้การตรวจและรักษานั้น มีความถูกต้องแม่นยำสูง เพื่อให้ได้ผลเหมือนหรือใกล้เคียงกับการผ่าตัด แต่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า
มีความปลอดภัยสูง ผลข้างเคียงต่ำ
ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบ
แผลเล็ก บาดเจ็บน้อย
ใช้เวลาฟื้นตัวเร็ว และพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1-2 วันเท่านั้น
ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมหรือทำงานได้ตามปกติภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ลดค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษา
สิทธิบัตรทอง รักษาฟรีได้โดยใช้ใบส่งตัวจากต้นสังกัด , สิทธิข้าราชการ สำรองจ่ายแล้วสามารถนำไปเบิกต้นสังกัดได้ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงพยาบาลกำหนด)
การรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดแดงสู่ตับ ( TACE : Transarterial Chemoembolization )
ข้อบ่งชี้การทำ TACE
- มีก้อนขนาดใหญ่ ลุกลาม หรือมีหลายก้อน ( Large, infiltrative,and/or multifocal )
- ไม่สามารถผ่าตัดได้ เนื่องจากจะเหลือพื้นที่ตับน้อย หรือมีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดสูง ( Inoperable disease due to small liver reserve or high surgical risk )
- ต้องการลดขนาดก้อนเพื่อไปทำการผ่าตัดตับ หรือการเปลี่ยนตับ ( Decreased size for hepatic resection or liver transplantation )
- เพื่อการรักษาแบบประคับประคอง และการรักษาตามอาการ ( Palliative and Symptomatic Rx. ) โดยจะพิจารณาใน 2 ประเด็น ได้แก่
- ช่วยลดอาการปวดเนื่องจากก้อนขนาดใหญ่
- อุดหลอดเลือดแดงในกรณีมีการแตกของเส้นเลือดในตับ ( Ruptured HCC )
ข้อห้ามต่อการทำ TACE ( Contra-indication )
- มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังนอกตับ ( Extrahepatic metastasis )
- ผู้ป่วยมีลักษณะเส้นเลือดที่ไม่ปกติ หรือมีโรคทางหลอดเลือดที่จะเพิ่มความเสี่ยงจากหัตถการ เช่น มีความเสี่ยงในการที่ยาเคมีบำบัดจะกระจายไปยังอวัยวะอื่นในช่องท้องเนื่องจากหลอดเลือดเชื่อมต่อกัน
ผลข้างเคียงของเคมีบำบัด
เคมีบำบัดคือยาที่ใช้ควบคุมหรือทำลายเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน อึดอัดไม่สบายในท้อง เบื่ออาหาร ซึ่งจะเป็นอาการที่เกิดในระยะสั้นๆ และอาการเหล่านี้จะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ที่ได้รับยา
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา
แพทย์จะรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลก่อน 1 วัน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม เช่น
- เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- งดน้ำและอาหารอย่างน้อง 6-8 ชั่วโมงก่อนทำหัตถการ
- ทำความสะอาดโกนขนบริเวณที่แพทย์จะใส่สายสวนหลอดเลือดที่ขาหนีบข้างขวา
- ผู้ที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
ขั้นตอนการวินิจฉัยและรักษา
- การรักษาด้วยวิธีนี้ ต้องทำในห้องเอกซเรย์หลอดเลือดที่สะอาดปราศจากเชื้อโดยรังสีแพทย์ที่มีความชำนาญ แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณขาหนีบข้างขวา
- แทงเข็มและสอดใส่สายสวนหลอดเลือด ( Catheter ) ไปตามหลอดเลือดแดง
- เมื่อหลอดเลือดอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แพทย์จะทำการฉีดสารทึบรังสีเพื่อดูกายวิภาคของหลอดเลือด ในตำแหน่งต่างๆ
- แพทย์จะทำการนำสายสวนหลอดเลือดเข้าใกล้ตำแหน่งก้อนให้มากที่สุด แล้วให้เคมีบำบัดผ่านทางสายสวนหลอดเลือดเข้าสู่ก้อนเนื้อมะเร็งโดยตรง
การทำลายก้อนมะเร็งตับด้วยการจี้ความร้อน โดยใช้ความร้อนจากคลื่นความถี่วิทยุ ( RFA : Radiofrequency ablation )
ข้อบ่งชี้การทำ RFA
- มีก้อนเดียวขนาดไม่เกิน 5 ซม.
- หากมีหลายก้อน ต้องไม่เกิน 3 ก้อน แต่ละก้อนขนาดไม่เกิน 3 ซม.
ข้อห้ามในการทำ RFA
- ผู้ป่วยที่มีผลเลือดค่าทำงานของตับไม่ดีมากพอที่จะทำให้ตับวายได้
- ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อขั้นรุนแรง ( Sepsis ) ที่ควบคุมไม่ได้
ข้อจำกัดในการทำ RFA
- ขนาดเล็กมากเกินไปและจำนวนก้อนเยอะเกินไป
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา
- แพทย์จะรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลก่อนการรักษา1 วันเพื่อเตรียมตัวให้พร้อม
- ผู้ป่วยต้องงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนทำหัตถการ
ขั้นตอนการวินิจฉัยและรักษา
- ผู้ป่วยจะได้รับการจัดท่านอนให้เหมาะสมเพื่อสะดวกต่อการทำหัตถการ ซึ่งอาจนอนหงายราบหรือกึ่งตะแคงซ้ายแล้วแต่ตำแหน่งของก้อนมะเร็ง
- ผู้ช่วยแพทย์จะติดแผ่นรองรับกระแสไฟที่ต้นขาทั้ง 2 ข้าง
- ผู้ช่วยแพทย์ให้ยาระงับความรู้สึก ยาแก้ปวด
- ทำความสะอาดบริเวณที่จะแทงเข็ม พร้อมทั้งปูผ้าสะอาดปราศจากเชื้อ
- รังสีแพทย์แทงเข็มถึงตำแหน่งก้อนเนื้อและต่ออุปกรณ์เพื่อส่งสัญญาณไฟฟ้า
- กำหนดค่ากระแสไฟฟ้า และรอจนครบเวลาตามกำหนด
- เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจรักษา แพทย์จะถอดเข็มออก แล้วปิดแผลด้วยก๊อซสะอาด
การปฏิบัติตัวภายหลังการรักษา
- นอนราบบนเตียงประมาณ 4-6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการตกเลือด
- ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
- ผู้ป่วยต้องติดตามผลการรักษากับแพทย์เจ้าของไข้ซ้ำทุก 1-3 เดือน แล้วแต่ดุลพินิจของแพทย์
ติดต่อสอบถาม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุรีเวช
โทร . 043-518019-26 ต่อ 8608